อำนาจหน้าที่
ภารกิจ อํานาจหน้าที่ขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น
การพัฒนาท้องถิ่นของเทศบาลตําบลทุ่งสะโตกเป็นการสร้างความเข้มแข็งของชุมชนในการร่วมคิดร่วมทําเพื่อแก้ไขปัญหาร่วมกัน โดยส่งเสริมความเข้มแข็งของชุมชน ในเขตพื้นที่รับผิดชอบของเทศบาลตําบลทุ่งสะโตก ให้มีส่วนร่วมในการพัฒนาท้องถิ่นในทุกด้านการพัฒนาเทศบาลตําบลทุ่งสะโตกจะสมบูรณ์ได้จําเป็นต้องอาศัยความร่วมมือของชุมชนในพื้นที่ให้เกิดความตระหนักเพื่อร่วมกันแก้ไขปัญหาและความเข้าใจในแนวทางแก้ไขปัญหากันอย่างจริงจัง นอกจากนี้เทศบาลตําบลทุ่งสะโตก ยังได้เน้นให้ “คน” เป็นศูนย์กลางของการพัฒนาในทุกกลุ่มทุกวัยของประชากร เน้นการส่งเสริม และสนับสนุนให้การศึกษาแก่เด็กก่อนวัยเรียน และ พัฒนาเยาวชนให้พร้อมที่จะเป็นบุคลากรที่มีคุณภาพ โดยยึดกรอบแนวทางในการจัดระเบียบการศึกษา ส่วนด้านพัฒนาอาชีพนั้น จะเน้นพัฒนาเศรษฐกิจชุมชนพึ่งตนเองในท้องถิ่น และยังสนับสนุนการจัดตั้งศูนย์เศรษฐกิจ ชุมชน โดยการมีส่วนรวมของคนในชุมชน
การวิเคราะห์ภารกิจ อํานาจหน้าที่ของเทศบาลตําบล ตามพระราชบัญญัติสภาตําบลและเทศบาลตําบล พ.ศ.2537 และตามพระราชบัญญัติกําหนดแผนและขั้นตอนการกระจายอํานาจให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น พ.ศ.2542 และรวบรวมกฎหมายอื่นของเทศบาล โดยใช เทคนิค SWOT เข้ามาช่วย ทั้งนี้เพื่อให้ทราบว่าเทศบาลตําบล มีอํานาจหน้าที่ที่จะเข้าไปดําเนินการแก้ไขปัญหาในเขตพื้นที่ให้ตรงกับความต้องการของประชาชนได้อย่างไร โดยวิเคราะห์จุดแข็ง จุดอ่อน โอกาส ภัยคุกคาม ในการดําเนินการตาม ภารกิจตามหลัก SWOT เทศบาลตําบลยุหว่า กําหนดวิธีการดําเนินการตามภารกิจสอดคล้องกับแผนพัฒนา เศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ แผนพัฒนาจังหวัด แผนพัฒนาอําเภอ แผนพัฒนาตําบล นโยบายของรัฐบาล และ นโยบายของผู้บริหารท้องถิ่น ทั้งนี้สามารถวิเคราะห์ภารกิจให้ตรงกับสภาพปัญหา โดยสามารถกําหนดแบ่ง ภารกิจได้เป็น 7 ด้าน ซึ่งภารกิจดังกล่าวถูกกําหนดอยู่ในพระราชบัญญัติเทศบาล พ.ศ.2496 (แก้ไขถึงฉบับที่ 13 พ.ศ. 2552) และตามพระราชบัญญัติกําหนดแผนและขั้นตอนการกระจายอํานาจให้องค์กรปกครองส่วน ท้องถิ่น พ.ศ.๒๕๔๒ และที่แก้ไขเพิ่มเติม ดังนี้
5.1 ด้านโครงสร้างพื้นฐาน มีภารกิจที่เกี่ยวข้องดังนี้
1) จัดให้มีและบํารุงทางบกและทางน้ํา (มาตรา 50(2))
2) จัดให้มีน้ําสะอาดหรือการประปา (มาตรา 51(1))
3) จัดให มีและบํารุงการไฟฟ้า หรือแสงสว่างโดยวิธีอื่น (มาตรา 51 (7))
4) จัดให มีและบํารุงทาง ระบายน้ํา (มาตรา 51(8))
5) ให บริการด้านการสาธารณูปโภคและการก่อสร้างอื่นๆ (มาตรา 16(4))
6) ให้บริการด้านการสาธารณูปการ (มาตรา 16(5))
7) ให้มีการผังเมือง (มาตรา 16(25))
5.2 ด้านส่งเสริมคุณภาพชีวิต มีภารกิจที่เกี่ยวข้อง ดังนี้
1) ป้องกันและระงับโรคติดต่อ (มาตรา 50(4))
2) ให้ราษฎรได้รับการศึกษาอบรม (มาตรา 50(6))
3) ส่งเสริมการพัฒนาสตรี เด็ก เยาวชน ผู้สูงอายุ และผู้พิการ (มาตรา 50(7))
4) ให้มีและบํารุงสถานที่ทําการพิทักษ์และรักษาคนเจ็บไข้(มาตรา 51(6))
5) ให้ มีการจัดการศึกษา (มาตรา 16(9))
6) ให้การส่งเสริมด้านการสังคมสงเคราะห์ และการพัฒนาคุณภาพชีวิตเด็ก สตรี คนชรา และ ผู้ด้อยโอกาส (มาตรา 16(10))
7) ให้มีการปรับปรุงแหล่งชุมชนแออัดและการจัดการเกี่ยวกับที่อยู่อาศัย (มาตรา 16(12))
8) จัดให้มีการส่งเสริมประชาธิปไตย ความเสมอภาค และสิทธิเสรีภาพของประชาชน (มาตรา 16(5))
9) ให้บริการด้านการสาธารณสุข การอนามัยครอบครัวและการรักษาพยาบาล (มาตรา 16(19))
5.3 ด้านการจัดระเบียบชุมชน สังคม และการรักษาความสงบเรียบร้อย มีภารกิจที่เกี่ยวข้อง ดังนี้
1) รักษาความสงบเรียบร้อยของประชาชน (มาตรา 50(1))
2) ให้มีเครื่องใช้ในการดับเพลิง (มาตรา 50(5))
3) จัดให้มีการรักษาความสะอาดและความเป็นระเบียบเรียบร้อยของบ้านเมือง (มาตรา 16(17))
4) จัดให้มีการรักษาความปลอดภัย ความเป็นระเบียบเรียบร้อย และการอนามัย โรงมหรสพ และสาธารณสถานอื่นๆ (มาตรา 16(23))
5) การควบคุมอาคาร (มาตรา 16(28))
6) ให้มีการป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย (มาตรา 16(29))
7) ให้มีการรักษาความสงบเรียบร้อย การส่งเสริมและสนับสนุนการป้องกันและรักษาความ ปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สิน (มาตรา 16(30))
5.4 ด้านการวางแผน การส่งเสริมการลงทุน พาณิชย์กรรมและการท่องเที่ยว มีภารกิจที่เกี่ยวข้อง ดังนี้
1) ให้มีโรงฆ่าสัตว์ (มาตรา 51(2))
2) จัดให้มีและควบคุมตลาด (มาตรา 51(3) และมาตรา 16(3))
3) บํารุงและส่งเสริมการทํามาหากินของราษฎร (มาตรา 51(5))
4) ให้มีการจัดทําแผนพัฒนาท้องถิ่นของตนเอง (มาตรา 16(1))
5) จัดให้มีการส่งเสริมการฝึกและประกอบอาชีพ (มาตรา 16(6))
6) จัดให้มี การพาณิชย์กรรมและการส่งเสริมการลงทุน (มาตรา 16(7))
7) จัดให้มีการส่งเสริมการท่องเที่ยว (มาตรา 16(8))
8)จัดให้มีและบํารุงรักษาสถานที่พักผ่อนหย่อนใจ (มาตรา 16(13))
5.5 ด้านการบริหารจัดการและการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม มีภารกิจที่เกี่ยวข้อง ดังนี้
1) ให้มีการรักษาความสะอาดของถนนหรือทางเดินและที่สาธารณะ รวมทั้งการกําจัดมูลฝอย และสิ่งปฏิกูล (มาตรา 50(3))
2) ให้มีการกําจัดมูลฝอย สิ่งปฏิกูล และน้ําเสีย (มาตรา 16(18))
3) ให้มีการควบคุมการเลี้ยงสัตว์(มาตรา 16(21))
4) ให้มีการจัดการ การบํารุงรักษา และการใช้ประโยชน์จากป่าไม้ที่ดินทรัพยากรธรรมชาติ และสิ่งแวดล้อม (มาตรา 16(24))
5) ให้มีดูแลรักษาที่สาธารณะ (มาตรา 16(27))
5.6 ด้านการศาสนา ศิลปะวัฒนาธรรม จารีตประเพณี และภูมิปัญญาท้องถิ่น มีภารกิจที่เกี่ยวข้อง ดังนี้
1) บํารุงรักษาศิลปะ จารีตประเพณี ภูมิปัญญาท้องถิ่น และวัฒนธรรมอันดีของท้องถิ่น (มาตรา 50(8) และมาตรา 16(11))
2) การส่งเสริมการกีฬา จารีตประเพณี และวัฒนาธรรมอันดีงามของท้องถิ่น (มาตรา 17(18))
5.7 ด้านการบริหารจัดการและการสนับสนุนการปฏิบัติภารกิจของส่วนราชการ และองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น มีภารกิจที่เกี่ยวข้อง ดังนี้
1) ส่งเสริมการมีส่วนร่วมของราษฎร ในการมีมาตรการป้องกัน (มาตรา 16(16))
2) ส่งเสริมประชาธิปไตย ความเสมอภาค และสิทธิเสรีภาพของประชาชน 16(15))
3) ส่งเสริมการมีส่วนร่วมของราษฎรในการพัฒนาท้องถิ่น (มาตรา 16(16))
ภารกิจทั้ง 7 ด้านตามที่กฎหมายกําหนดได้ให้อํานาจเทศบาลตําบลสามารถแก้ไขปัญหา โดยให้คํานึงถึงความต้องการของประชาชนในเขตพื้นที่ประกอบด้วย การดําเนินการของเทศบาลตําบลจะต้องสอดคล้องกับแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ แผนพัฒนาจังหวัด แผนพัฒนาอําเภอ แผนพัฒนาตําบล นโยบายของรัฐบาล และนโยบายของผู บริหารของเทศบาลตําบลเป็นสำคัญ
หมายเหตุ : มาตรา 50, 51 หมายถึง พ.ร.บ.เทศบาล พ.ศ.2496 (แก้ไขถึงฉบับที่ 13 พ.ศ. 2552) มาตรา 16 หมายถึง พ.ร.บ.กําหนดแผนและขั้นตอนกระจายอํานาจให้ แก่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น พ.ศ.2542